l เข้าสู่ระบบ l สมัครสมาชิก | ช่วยเหลือ l

นัด24ออนช๊อป
ร้าน ใจชนะ เซอร์วิส
หน้าร้านค้า       บทความ       วิธีชำระเงิน       เกี่ยวกับเรา / ติดต่อเรา      

ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการสร้างพระนางพญา


ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ กองทัพพม่าซึ่งมีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ขยายอาณาเขตเข้าตีเมืองมอญ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับแดนไทย ไว้เป็นที่มั่น แล้วสั่งเกณฑ์กองทัพมาตั้งประชุมพลที่เมืองเมาะตะมะ พระเจ้าหงสาวดีได้เสด็จเป็นจอมทัพยกเข้ามารุกรานเมืองไทย หมายเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น ฝ่ายสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเมื่อทราบข่าวว่ากองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้ามาประชิดกรุง เสด็จยกกองทัพหลวงออกไปหวังจะลองกำลังข้าศึกดูว่าจะหนักเบาเพียงใด โดยทรงพระคชาธาร สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสี ได้แต่งองค์เป็นชายอย่างพระมหาอุปราช ทรงคชาสาร ตามเสด็จไปด้วยพระราเมศวรและพระมหินทร์ ราชโอรสทั้งสอง กองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพระเจ้าหงสาวดี ไพร่พลของทั้งสองกองทัพเข้ารบพุ่งกันเป็นสามารถ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปรต่างทรงช้างขับไพร่พล หนุนมาพบกันเข้าก็ชนช้างกันตามแบบการยุทธในสมัยนั้น ช้างพระที่นั่งสมเด็จพะมหาจักรพรรดิเสียทีแล่นหนีช้างข้าศึกเอาไว้ไม่อยู่ พระเจ้าแปรขับช้างไล่มา สมเด็จพระสุริโยทัยเกรงพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จึงขับช้างทรงเข้าขวางทางข้าศึกเอาไว้ พระแปรได้ทีฟันสมเด็จพระสุริโยทัย ด้วยสำคัญว่าเป็นชาย สิ้นพระชนซบลงกับคอช้าง พอพระราเมศวรกับพระมหินทร์ทั้งสองพระองค์ขับช้างทรงเข้าต่อสู้ พระเจ้าแปรก็ถอย จึงกันเอาพระศพสมเด็จพระชนนีกลับ การรบพุ่งในวันนั้นเป็นอันยุติไม่รู้แพ้รู้ชนะกัน แม้ว่าสมเด็จพระสุริโยทัยจักสิ้นพระชนม์ พระศพสมเด็จพระสุริโยทัยได้อันเชิญไปประดิษฐานไว้ที่สวนหลวง ตรงที่สร้างวังหลังต่อมาได้สร้างพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยที่ในสนามหลวง ตรงกับวัดเขตวัดสบสวรรค์และได้สร้างพระอารามขึ้นตรงกับพระเมรุกับได้สร้างพระมหาเจดีย์เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของพระองค์ท่านผู้มีทั้งพระทัยกล้าหาญมั่นคงเด็ดเดี่ยว ให้อนุชนรุ่นหลังได้จดจำสืบกันต่อมา การศึกในครั้งนั้น กองทัพของพระเจ้าหงสาวดี แม้จะมีรี้พลมากกว่าก็ไม่สามารถที่รบพุ่งหักหาญให้กรุงศรีอยุธยาแตกหักลงได้ เพียงแต่ล้อมเมืองเอาไว้เฉยๆ อยู่ไปนานเข้าเสบียงอาหารร่อยหรอลง รี้พลก็ระส่ำระส่าย ประกอบกับขณะนั้นกำลังรบทางหัวเมืองฝ่ายเหนืออันเป็นมณฑลราชธานีครั้งสมเด็จพระร่วงเจ้า ยังมีกำลังมาก อีกทั้งพระมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นอุปราชครองหัวเมืองเหนือทั้งปวงอยู่ที่เมืองพิษณุโลก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีใบบอกให้ยกกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือ ลงมาช่วยตีกระหนาบ ฝ่ายพระเจ้าหงสาวดีพอได้ข่าวกองทัพไทยในฝ่ายเหนือลงมาก็ตกพระทัย ยกทัพกลับไปทางด้านเจดีย์สามองค์ ปี พ.ศ. ๒๑๐๖ พระมหาธรรมราชาผู้ครองเมืองพิษณุโลก ได้อภิเษกเป็นพระศรีสรรเพชญ หรือเจ้าฟ้าสองแคว ทรงอภิเษกสมรสกับพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ กับสมเด็จพระสุริโยทัย ผู้ซึ้งมีเลือดเนื้อเชื้อไขเป็นนักรบอย่างแท้จริง ยอดวีรกษัตรีนั่นเอง มีพระราชโอรส๒องค์ คือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้กอบกู้ชาติให้หลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น กับสมเด็จพระเอกาทศรถ และพระธิดา๑องค์ คือ พระสุพรรณกัลยา หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว  จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  วัดนางพญา  วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้างพระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง  ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน  

พระมหาธรรมราชาทรงครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองพิษณุโลกสืบต่อมาเป็นเวลานาน พระองค์ทรงทะนุบำรุงเมือง ตลอดจนพระศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า วัดใหญ่ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพุทธสถานที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจตลอดมา คงจะเป็นเช่นเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบันนี้ ส่วนพระวิสุทธิกษัตริย์ พระชายา ทรงทะนุบำรุงและปฏิสังขรณ์วัดนางพญา ซึ่งเป็นวัดเคียงข้างกับวัดใหญ่เพียงถนนกั้นกลางเท่านั้น เหตุที่วัดนี้มีชื่อว่าวัดนางพญานั้นมีเหตุผลอยู่สองประการด้วยกันคือ พระวิสุทธิกษัตริย์สร้างถวายเป็นพุทธบูชาอุทิศแด่พระมารดา คือสมเด็จพระสุริโยทัย หรือเรียกชื่อตามตำแหน่งแห่งผู้สร้างคือ พระวิสุทธิกษัตริย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ ที่วัดแห่งนี้ได้ขุดพบพระพิมพ์เนื้อดินประทับปางมารวิชัย อยู่ในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วอย่างทรงเลขาคณิตหลายทรงพิมพ์ด้วยกันและมีจำนวนมาก เข้าใจว่าคงจะมีจำนวนถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ ครบถ้วนตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นคตินิยมของท่านโบราณาจารย์ที่ต้องสร้างให้ได้จำนวน

วันที่เขียนบทความ: 06/05/2024 เวลา: 10:37:36 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 06/05/2024 เวลา: 11:12:00 น.



กลับหน้าบทความ