l เข้าสู่ระบบ l สมัครสมาชิก | ร้านค้าสมาชิก l ช่วยเหลือ l


ร้านใจชนะ เซอร์วิส

199/112 ม.5 หมู่บ้านพนาสนธิ์วิลล่า ซ.จตุรมิตร 9 ถ.เทพารักษ์ กม.12 ต.บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
โทรศัพท์: Office:021 868 076 มือถือ: 089 688 2689



เปิดร้านค้า 16 มิถุนายน 2554      
สินค้าทั้งหมด : 80 รายการ;    สถิติผู้ชม : จำนวน 2,387,581 คน
     
หน้าร้านค้า       บทความ       วิธีชำระเงิน       เกี่ยวกับเรา / ติดต่อเรา      


ความรู้เรื่องสารเคมีกำจัดปลวก


สารเคมีกำจัดปลวก ที่พบในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1).กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต(Organophosphate) 
  เป็นสารที่มีอันตรายต่อคน และสัตว์ รวมถึงมีพิษตกค้างใน สิ่งแวดล้อมอีกด้วย สารเคมีในกลุ่มนี้ที่ใช้ในการกำจัดปลวก มี 2 ชนิด คือ Chlorpyrifos และ Fenobucarb ใช้เพื่อทำเป็น แนวป้องกันปลวก และสามารถฆ่าปลวกได้ทันทีเมื่อปลวกสัมผัสกับสาร
2).กลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์(Synthetic Pyrethroid)
  เดิมเป็นสารสกัดจากพืช ที่เคยนำมาใช้ในการกำจัดแมลงคือ Pyrethrin ซึ่งสกัดจากพืช แต่มีการสลายตัวเร็วจึงใช้กำจัดปลวกไม่ได้ ปัจจุบันจึงมีการสังเคราะห์สารชนิดนี้ขึ้นมาใหม่ ให้มีความคงทนอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้นจึงสามารถใช้กำจัดปลวกได้เรียกสารในกลุ่มนี้ว่า Pyrethroidสังเคราะห์ (Synthetic pyrethroids) ซึ่งมีกลิ่นอ่อน เป็นอันตรายสูงต่อสัตว์น้ำ เมื่อนำมาใช้กำจัดปลวก จะใช้เพื่อเป็นสารไล่ปลวก ตัวอย่างของสารสังเคราะห์ในกลุ่มนี้ที่ใช้กำจัด ปลวก มี 7 ชนิด คือ Cypermethrin,Permethrin,Alphacypermethrin,Bifenthrin, Deltamethrin,FenvalerateและLamdacyhalothrin
3).กลุ่มอื่นๆ(Other Groups)
  สารเคมีที่ใช้กำจัดปลวกสามารถ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
   3.1กลุ่มคลอโรนิโคตินิล(Chloronicuetinyl)เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทำให้ระบบประสาทของแมลงผิดปกติ ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ที่ใช้ในการกำจัดปลวกคือ Imidacloprid
  3.2กลุ่มเฟนนีลไพราโซล(Phenyl Pyrazole) Aprotech จัดอยู่ในกลุ่มนี้เป็นสารเคมีที่มีผลกระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อของให้ทำงานมากกว่าปกติ มีทำให้เกิดการชัก และตายได้ตัวอย่างของสารในกลุ่มนี้ที่ใช้กำจัดปลวกคือ Fipronil
   3.3กลุ่มไซเลน (Silane) ได้แก่ Silafluofen
4).การใช้สารป้องกันรักษาเนื้อไม้(Wood Preservative)
  มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารกำจัดแมลงและสารกำจัดเชื้อราสารป้องกันและกำจัดปลวก
กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา Fact Sheet No. …/…
5). การใช้สารสกัดจากพืช เช่น ใบยูคาลิปตัส ใบเสม็ด
ใบหรือเมล็ดสะเดา ใบกะเพรา เป็นต้น สารสกัดจากพืชนั้นอาจใช้ในส่วนของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะออกฤทธิ์เร็ว แต่จะมีอายุการใช้งานสั้น หรืออาจใช้ในรูปแบบของสารสกัดในสารสะลายต่างๆ เช่น Petroleum Ether, Chloroform และ Ethyl Acetate เป็นต้น

วันที่เขียนบทความ: 20 เมษายน 2559 เวลา: 10:16:23 น.
วันที่ปรับปรุงบทความ: 11 พฤศจิกายน 2559 เวลา: 03:04:41 น.




กลับหน้าบทความ